ปัญหาแบบนี้มีมาอยู่เรื่อยๆ และอาจจะมีอยู่ตลอดไป คนที่ถูกนำไปแอบอ้างมากที่สุดเป็นดาราคนมีชื่อเสียง คนธรรมดาก็ถูกนำไปแอบอ้างอยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะคนที่มีศรัตรู คนหน้าตาดี และคนที่จะทำให้เกิดประโยชน์ทางธุรกิจได้

Facebook-A154

ลักษณะของการแอบอ้างเท่าที่พบ

1. คนที่มีศรัตรู มักจะถูกนำรูปไปสร้างความเกลียดชัง พูดจาเสียหาย นำไปคอมเม้นหยาบคาย นำไปแอดเพื่อนเพื่อใช้ด่าคนอื่นโดยเฉพาะ …หรือทำอะไรก็ได้ที่จะทำให้เจ้าของภาพถูกเกลียดชัง

2. คนหน้าตาดี อาจจะถูกนำรูปโปรไฟล์ เพื่อไปใช้ในการหลอกลวง ทั้งหญิงและชายมีโอกาสโดนได้ เช่น รูปผู้ชาย อาจจะถูกนำไปใช้ล่อลวงหญิงสาว (ข่าว ใช้เฟสบุ๊คลวงเด็กหญิงไปข่มขืน ก็ยังมีให้เห็นอยู่)

3. คนที่จะทำให้เกิดประโยชน์ทางธุรกิจได้ เช่น หมอ อาจจะถูกนำไปแอบอ้างเพื่อขายยาและอาหารเสริมต่างๆ

4. คนที่อยู่เฉยๆ ก็ถูกนำไปแอบอ้างได้ครับ บางคนถูกนำรูปโปรไฟล์ไปพูดจาหมิ่นจนเข้าข่ายความผิดกฎหมายมาตรา 112

ปัญหาที่อาจตามมา

1. ถูกแจ้งความจับเสียเอง – เมื่อถูกนำไปแอบอ้าง เราไม่มีความผิดอยู่แล้ว หากเป็นเรื่องร้ายแรงอาจถูกแจ้งความจับดำเนินคดีก่อน และก็ต้องสู้คดีต่อไป

2. ถูกประจานแบบไม่มีโอกาสได้แก้ตัว – คนไทยหลายคน “เชื่อง่าย” ส่วนใหญ่ไม่ทันคิด เห็นแล้วแชร์เลย เช่น คำพูดแรงๆที่เข้าข่ายกฎหมายมาตรา 112 บางคนไม่ใช่ตัวจริง แต่ถูกนำรูปมาแอบอ้าง เพราะโทษมันแรง ไม่มีใครอยากจะซวยติดคุกหรอก …แม้ว่าเราจะไม่ผิด และไม่ถูกดำเนินคดี แต่ความเสียหายได้เกิดขึ้นแล้ว เมื่อถูกนำรูปภาพกับคำพูดไปแชร์ต่อๆกัน จนคนอื่นเชื่อว่าเราทำสิ่งนั้นจริงๆ

แนวทางป้องกันและแก้ไข

ก่อนอื่น ให้เก็บหลักฐานไว้ก่อน จับภาพหน้าจอไว้ให้หมด  แล้วจากนั้นก็…

1. ร้องเรียนระบบ

Facebook-A152

– สำหรับเจ้าตัว กดรายงานแล้วบอกว่าแอบอ้างเป็นตัวฉัน

Facebook-A153

– แล้วให้เพื่อนไปช่วยกด โดยบอกว่าแอบอ้างเป็นบุคคลที่ฉันรู้จัก แล้วพิมพ์ชื่อเพื่อนลงไป

เสร็จแล้วก็กดดำเนินงาน …แต่ไม่รับรองได้ว่า “โปรไฟล์ที่แอบอ้างจะถูกถอดออก” เรื่องแบบนี้มันกลั่นแกล้งกันได้ จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่ Facebook จะลบออกให้

2. แจ้งความ

ถ้าแจ้งความไปแล้ว ตำรวจจะช่วยได้มากน้อยแค่ไหนนั้นอาจจะขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของคดีด้วย ถ้ายังเป็นเรื่องเล็กๆ ก็ถือซะว่าได้ไปลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน …เพราะเวลาโดนแจ้งความ จากการที่คนอื่นไม่รู้ว่าเราโดนแอบอ้าง อย่างน้อยมันก็เป็นหลักฐานว่าเราเป็นผู้บริสุทธิ์

ส่วนการเอาผิด กฎหมายพรบ.ว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ใครที่แอบอ้างจนทำคนอื่นเสียหาย มีความผิดตามมาตรา 14 (1) มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

และถ้าหากข้อความและรูปที่แอบอ้างนำไปโพสขึ้นเว็บไซท์ เราสารถแจ้งไปยังเว็บมาสเตอร์ให้ลบออกได้ แต่ถ้าเขาไม่เอาออก ก็อาจมีความผิดกฎหมายพรบ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 15 ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิด

3. บอกให้คนอื่นทราบ

ถ้าโดนแอบอ้าง เราต้องทำให้คนอื่นรู้ว่าเราโดน เช่น โพสบน facebook ให้เพื่อนตามไปกดรายงานเพื่อลบออก …และหากเป็นเรื่องร้ายแรง ก็วานให้เพื่อนกระจายข่าว เช่น แอบอ้างว่าเป็นหมอ เพื่อที่จะได้ขายยาเถื่อน ซึ่งในอนาคตก็ยังไม่รู้ว่าจะส่งผลเสียกับคนอื่นอย่างไร

สรุป
ถ้าโดนแอบอ้าง ผมแนะนำให้ทำตามสามขั้นตอนนี้ …แต่เรื่องกฎหมาย ต้องไปปรึกษาผู้รู้เกี่ยวกับ พรบ.คอมพิวเตอร์ 2550 อีกที ผมรู้แค่คร่าวๆ ถ้าเกิดปัญหาจริงๆ ต้องไปศึกษาเพิ่ม

เวลามีปัญหาอย่าปล่อยไว้ ยิ่งนานวันยิ่งเสียหาย …และอาจจะไม่ได้มีโอกาสได้แก้ตัว แม้เราจะไม่ใช่คนผิดก็ตาม

บทความก่อนหน้านี้แนะนำเพจ Thai History เรียนรู้ประวัติศาสตร์ไทยบนแฟนเพจแบบ Timeline
บทความถัดไปแนวทางเพิ่ม Like ให้กับแฟนเพจ ในแบบต่างๆ
เป้าหมายการทำเว็บของผมคือ คนไทยต้องเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย จะแก้ปัญหาไอทีต้องมีทางออก เว็บมหาลัยฯจึงก่อกำเนิดขึ้น